วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายและความเป็นมา

------ความหมายและความเป็นมา-----

เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย จากอดีตสู่ปัจจุบัน พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185 คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้ ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่งคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ

ความเป็นมาจากเว็บต่างๆ

http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page11.htm

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=817

http://www.tp.th.gs/web-t/p/index1.htm

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

ความรู้เนื้อหาทีเรียน

.....................หน่วยที่4.......................
ความเป็นมาตรฐานในปัจจุบันโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากและเป็นต้นแบบของโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั้งหลายในปัจจุบัน คือ โปรแกรมไมโครซอร์ฟเวิร์ด เป็นโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ที่มีลักษณะการทำงานที่สมบูรณ์แบบ จนเป็นที่ยอมรับในวงการธุรกิจ และยอมรับว่าเป็น "มาตรฐานอุตสาหกรรม"ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จัดระบบการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หน่วยความจำ ลำดับของข้อมูล การเคลื่อนย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ การแสดงผล การทำงานของ CPU ฯลฯ เหล่านี้ จะต้องอาศัยระบบปฏิบัติการช่วยจัดหน้าที่การทำงานให้ทั้งสิ้น ระบบปฏิบัติการจึงเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ได้ตามเป้าหมาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะทำงานได้บนคอมพิวเตอร์เครื่องใด ๆ ก็จะต้องอาศัยระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ การนำเอาโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการหนึ่งไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่นจึงเป็นเรื่องยาก นอกเสียจากต้องทำการพัฒนาโปรแกรมนั้นใหม่ให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการที่จะทำงานร่วมกัน
การจัดการสารสนเทศในชั้นเรียน
โดยทั่วไปแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์จะเน้นในเรื่องของการจัดการสารสนเทศ ซึ่งในบทนี้อาจกล่าวได้ว่าได้เน้นถึงการจัดการสารสนเทศประเภทเอกสาร และจะรวมไปถึงการใช้สารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นรายบุคคล 1. การสอนการเขียนด้วยเวิร์ดโปรเซสเซอร์1.1 ให้โอกาสการคิดเพื่อการเขียนแก่ผู้เรียน ในการเขียนของผู้เรียนนั้น จะพบว่า ผู้เรียนมักจะทบทวนสิ่งที่เขียนออกไปอยู่เสมอ และมักจะมีความกังวลอยู่กับการแก้ไขและการจัดลำดับเนื้อหาใหม่ ซึ่งกระบวนการที่จะต้อง ลบ แก้ไข เพิ่มหรือย้ายข้อความเหล่านี้ ล้วนเป็นข้อจำกัดในการทำให้ความคิดของผู้เรียนเป็นอิสระในขณะที่ฝึกฝน ถ้าเราสามารถลดข้อจำกัดนี้ลงได้ก็จะช่วยให้ผู้เรียนฝึกเขียนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้การใช้โปรแกรม การใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์ช่วยในการเรียนการสอนวิชาการเขียน จึงจะช่วยขจัดอุปสรรคนี้ได้1.2 ปัญหาของผู้เรียนในการใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ปัญหาที่สำคัญในการใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ของผู้เรียน คือ ความไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์และความสามารถในการพิมพ์ดีด ปัญหาแรกสามารถแก้ไขได้โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญและมีความคุ้นเคยไปโดยอัตโนมัติ ส่วนความสามารถในการพิมพ์ดีดนั้น นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกระดับ ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มทักษะในด้านนี้ได้โดยให้ผู้เรียนฝึกฝนการพิมพ์กับโปรแกรมฝึกการพิมพ์โดยเฉพาะ1.3 ให้โอกาสในการฝึกเขียนแก่ผู้เรียน การเขียนนับว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งยิ่งฝึกบ่อยเท่าใดก็ยิ่งเกิดความชำนาญ การใช้เวิร์ดโปรเซสเซอร์ช่วยในการสอนการเขียน ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าจะได้ผลดีกว่าการสอนโดยวิธีปกติธรรมดา หากแต่ว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการฝึกเขียนเท่านั้น1.4 การใช้เวิร์โปรเซสเซอร์ช่วยสะกดคำ ในโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์จะมีพจนานุกรม (Dictionary) รวมอยู่ด้วย พจนานุกรมนี้จะบรรจุคำไว้ประมาณ 50,000 คำ หรือมากกว่านั้น เพื่อช่วยในการตรวจสอบการสะกดคำ กล่าวคือ ผู้ใช้สามารถสั่งให้โปรแกรมตรวจสอบการสะกดคำในข้อความ หรือในไฟล์ ข้อความใดสะกดไม่ถูกต้อง โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ก็จะเปรียบเทียบคำในไฟล์กับในพจนานุกรม ถ้าพบว่ามีคำใดสะกดไม่ตรงกับคำในพจนานุกรม โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ก็อาจจะถามผู้ใช้ว่าจะให้เปลี่ยนหรือไม่ หรือผู้ใช้อาจกำหนดให้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์เปลี่ยนให้เลยก็ได้
............หน่วยที5..............
การรู้คอมพิวเตอร์ สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
........1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
........2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
........3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
........4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ความหมายของการรู้คอมพิวเตอร์ "การรู้คอมพิวเตอร์" หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติระบบ และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์กับงานของตน" จากความหมายของ "การรู้คอมพิวเตอร์" จะทราบว่าความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์ของบุคคล จำแนกออกได้เป็น
4 เรื่องสำคัญ ได้แก่
........1) ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems)
........2) การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Applications)
........3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
........ 4) เจตคติต่อคอมพิวเตอร์ (Computer Attitude)
...........................หนว่ยที่6................
วัตถุประสงค์
........1. อธิบายกระบวนการการประเมินบทเรียนได้
........2. อธิบายแนวการจัดลำดับกิจกรรมในการประเมินบทเรียนได้
........3. อธิบายวัตถุประสงค์ของการประเมินบทเรียนได้
........4. ประยุกต์ใช้การประเมินบทเรียนได้

..................แนวคิด.....................
ความจำเป็นในการประเมินสารสนเทศ หรือความรู้ที่อยู่ในบทเรียน (Courseware)ที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งนี้เพราะการประเมินจะทำให้เราทราบเกี่ยวกับ สิ่งต่อไปนี้
........1) การประมาณการเกี่ยวกับงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดหาบทเรียน
........2) ความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ระดับโรงเรียนและระดับท้องถิ่น
........3) จำนวนบทเรียนที่มีอยู่ในท้องตลาดแต่ยังสงสัยว่ามีคุณภาพดีเพียงใด ถึงแม้จะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในศึกษานานพอสมควร แต่วิธีการและรูปแบบการประเมินยังไม่ดีนักซึ่งยังต้องปรับปรุงวิธีการและรูปแบบการประเมินอีกมากคำถามที่เกิดขึ้นในการประเมินบทเรียนโดยทั่วไปมีอยู่มาก เช่นบทเรียนนี้เมื่อนำมาใช้จะคุ้มราคาหรือไม่ ซึ่งจากคำถามนี้อาจพิจารณาได้ดังนี้
........1) ประโยชน์ที่ได้เมื่อนำมาใช้ในการศึกษาและการเรียนการสอน
........2) การวิเคราะห์จุดเด่นและจุดอ่อนของบทเรียนเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและการศึกษา
........3) เปรียบเทียบหน้าที่และราคาของกับสื่อหรือเครื่องมือการสอนอื่นๆ

คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

ความหมายได้หลายทัศนะ เช่น คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ในรูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถคำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ (Computer)อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดการกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูงโดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม สามารถคอมพิวเตอร์ (Computer) อาจให้ประมวลผลที่เป็นตัวเลข
2วัสถุประสงค์ของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
............1. อธิบายบทบาทของคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนได้
............2. อธิบายแนวทางการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในอนาคตได้
............3. อธิบายรูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนได้
............4. อธิบายคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนได้
............1. หน่วยรับข้อมูล
............2. หน่วยประมวลผลกลาง
............3. หน่วยแสดงผล
4คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
............1. อธิบายกระบวนการการประเมินบทเรียนได้
............2. อธิบายแนวการจัดลำดับกิจกรรมในการประเมินบทเรียนได้
............3. อธิบายวัตถุประสงค์ของการประเมินบทเรียนได้
............4. ประยุกต์ใช้การประเมินบทเรียนได้
http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=922
http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/cai/maincai.htm

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาพถ่ายเอกเทคโนโลยีการศึกษา














ชมได้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
น้าอาคาร7